วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรที่ 2

บทที่ 1
มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
ความเป็นมาและพัฒนาการบริหาร
          คำว่า  การบริหาร  เริ่มมีความหมายชัดเจนตอนต้นพุทธศตวรรษที่  25  โดยให้ความหมายไว้ว่า  การบริหาร  หมายถึง  การจัดการหรือควบคุมกิจการต่างๆ ของรัฐ  หรือ  หมายถึง  การปฏิบัติการต่างๆ ของหน่วยงาน    ของรัฐ
ความสำคัญของการบริหาร
          การบริหารเป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์ดำรงชีพร่วมกันได้อย่างมีความสุข  และนอกจากนี้การบริหารเป็นเครื่องบ่งชี้ให้ทราบถึงความเจริญก้าวหน้าของสังคม
                การบริหาร  หมายถึง  การที่มีคนตั้งแต่  2  คนขึ้นไป  รวมกลุ่มกันทำงาน  เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 
          การบริหารการศึกษา  หมายถึง  กิจกรรมต่างๆ  ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการเพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมให้ครบทุกๆ  ด้าน
การบริหารเป็นวิชาชีพชั้นสูง
          การที่จะดูว่าวิชาใดเป็นวิชาชีพชั้นสูงได้นั้นต้องมีเกณฑ์ดังต่อไปนี้  การบริการสังคม  ระยะเวลาในการฝึกอบรม  มีวิธีการใช้ความคิด  มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ  มีสมาคมวิชาชีพแข็งแรง  และมีความอิสระทางวิชาการ
การบริหารเป็นศาสตร์และเป็นศิลป์
          การบริหารเป็นศาสตร์  เป็นวิชาสาขาหนึ่งที่มีการจัดระเบียบให้เป็นระบบของการศึกษา  มีองค์แห่งความรู้  และสามารถนำมาศึกษาต่อได้
          การบริหารเป็นศิลป์  เป็นการนำเอาหลักการทฤษฎีการบริหารมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ปรัชญาของการบริหารการศึกษา 13 ประการ  ดังนี้
          1.ผู้บริหารจะต้องใช้ความฉลาดไหวพริบแก้ปัญหาต่างๆ
          2.ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้บุคคลจำนวนมากเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน
          3.ผู้บิหารต้องเคารพความเป็นคนของแต่ละคน
          4.ผู้บริหารต้องยึดเป้าหมายของการศึกษาเป็นหลัก
          5.ผู้บริหารต้องถือว่าตนเองเป็นเพียงผู้ประสานประโยชน์
          6.ผู้บริหารจะต้องเปิดโอกาสให้บุคคลทั้งหลายได้แสดงความคิดเห็น
          7.ผู้บริหารต้องถือว่าตนเองเป็นผู้นำ
          8.ผู้บริหารต้องถือว่าตนเองคือนักการศึกษา
          9.ผู้บริหารจะต้องเสียสละทุกอย่าง
         10.ผู้บริหารจะต้องประสานงาน
         11.ผู้บริหารจะต้องประเมินงานของตนอยู่เสมอ
         12.ผู้บริหารจะต้องเคารพในวิชาชีพของการบริหาร
         13.ผู้บริหารจะต้องขวนขวายหาความรู้ใส่ตนอยู่เสมอ

บทที่ 2
วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆ  และการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
วิวัฒนาการด้านรัฐกิจ
การบริหารรัฐกิจ  เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครอง  แบ่งออกเป็น 3  ระยะ  ดังนี้
         ระยะที่ 1 การบริหารรัฐกิจ  ควรแยกออกจากการเมือง  ข้าราชการต้องยึดเอาความต้องการของประชาชนเป็นหลัก  และส่งเสริมให้ประชาชนและข้าราชการรู้เรื่องการบริหาร
          ระยะที่ 2  การศึกษาเรื่องการบริหาร  หันมาเน้นพฤติกรรมองค์การ  และเรื่องของมนุษย์สัมพันธ์ของคนมากขึ้น
          ระยะที่ 3  การศึกษาหันมาผสมผสานแนวคิดในระยะ 1  และ 2  เข้าด้วยกัน
วิวัฒนาการด้านธุรกิจ
          การพัฒนาหลักการบริหารได้รับความสนใจ  จึงทำให้เกิดความต้องการ  “ วิธีการบริหาร” ที่ทันสมัยยิ่งขึ้น  ต้นศตวรรษที่ 19  จึงได้เกิดวิวัฒนาการทางการจัดการขนานใหญ่  ที่เรียกว่า  การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์  ซึ่งเป็นผลของวิวัฒนาการสมัยใหม่ระยะแรก  และนำไปสู่การจัดการที่ดี
การแบ่งยุคของนักทฤษฎีการบริหาร
ยุคที่ 1  นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม
          Towne  ได้เสนอแนวคิดว่า  ควรจะแยกการจัดการออกจากหน้าที่การงานทางวิศวกรรมและเน้นเรื่องความสำคัญของการจัดการว่ามีเท่ากับความสำคัญของงานวิศวกรรม
          Taylor  เปรียบคนงานเหมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุง  เพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้
          Henry L. Gantt  มีแนวคิดการเลือกคนงานโดยหลักวิทยาศาสตร์และการร่วมมืออย่างกลมกลืน  ระหว่างแรงงานและฝ่ายการจัดการ
          ทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร  หมายถึง  การจัดกิจกรรมที่ซับซ้อน  ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการวางแผนการผลิต  การจัดสรรทรัพยากร  และการจัดทรัพยากรบุคคล
การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
          1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ควรใช้ในการดำเนินจัดตั้งมาตรฐานที่ต้องการ
          2.วิธีการผลิตควรตังอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์
          3.คุณสมบัติของผู้ผลิตควรจะถูกกำหนดขึ้น
          4.ผู้ผลิตควรได้รับการชี้แจง
          5.บุคลากรทางการศึกษามีมาตรฐานต่ำ  จึงควรได้รับการเตรียมมาเป็นอย่างดีก่อน
ยุคที่ 2 ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์
          Follette  ได้ให้ความคิดเห็นความสำคัญของคน  เพื่อสร้างและรักษาความสัมพันธ์อันดี
การประยุกต์ใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารการศึกษา
          อาจารย์ใหญ่ควรจะสร้างความสัมพันธ์อันดีกับครูเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่ม  และสามารถสร้างภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยได้มากกว่า  ครูและเจ้าหน้าที่ทุกคนควรจะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ยุคที่ 3 ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริหาร
          ยุคนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดองค์การที่เป็นทางการ  ยึดตามแนวมนุษยสัมพันธ์ให้ความสำคัญกับตัวบุคคล
การประยุกต์ใช้พฤติกรรมศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
           การบริหารประกอบด้วยความรู้เฉพาะ  ทักษะ  ความเข้าใจ  และการดำเนินการทั้งหลาย  ที่ตั้งอยู่บนทัศนะความจริงขององค์การที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน
ทฤษฎีองค์การเชิงระบบ
          มีวัตถุประสงค์ของโรงเรียน  หลักสูตร  กระบวนการเรียน  การสอน  กิจกรรมต่างๆ  การวัดและประเมินผล  นักเรียนมีความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
การประยุกต์เชิงระบบในการบริหารการศึกษา
           การรู้จักใช้แนวความคิดของวิธีการเชิงระบบมาใช้ในการบริหารการศึกษา  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในทุกๆ ด้าน  ซึงสิ่งเหล่านี้ทำให้การบริหารการศึกษาบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

บทที่ 3
งานบริหารการศึกษา
              งานของผู้บริหารการศึกษา  คือ  งานที่คนมองว่าเป็นงานที่ผู้บริหารกำลังทำอยู่  งานที่คนนอกคิดว่าผู้บริหารควรทำ  และงานที่ตัวผู้บริหารคิดว่าเป็นความรับผิดชอบ
ภารกิจของการบริหารการศึกษา
          จำแนกตามลักษณะและขอบข่ายของงานบริหารการศึกษา  จำแนกตามบทบาทและพฤติกรรมการบริหาร  และจำแนกตามเกณฑ์สมรรถภาพของผู้บริหาร
ลักษณะทางสังคมจิตวิทยา
           ควรมีความกระปรี๊กระเป่า  เพราะทั้งผู้บริหารและครูอาจเกิดความเครียด และควรมีแรงจูงใจ  การที่คนเราจะทำงานได้ดีและมีความสุขก็เพราะมีแรงจูงใจ  การรับรู้  ผู้บริหารจะต้องรู้จุดแข็งและจุดอ่อน  รู้ขอบเขต  และความสามารถของตนเอง
การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพของนักบริหาร
            การที่จะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพนั้น  ผู้บริหารจะต้องรู้จักวางแผนนโยบาย  รู้จักแบ่งงาน  รู้จักวางแผนงานให้เป็นระบบ  รู้จักการจัดองค์การ  รู้จักใช้คนให้เป็น  รู้จักใช้ทักษะ  มีการประสานงานที่ดี  และรู้จักการประเมินผลงานอยู่เสมอ
ทักษะที่ใช้เพื่อการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ
            ต้องรู้จักประเมินผลวัตถุประสงค์อยู่เสมอ  ความต้องการคาบคู่กับความสัมพันธ์ของใคร  การรู้จักผูกน้ำใจคน  จัดคนให้ถูกกับงาน  ต้องรู้จักการยกย่องผู้อื่น  มีความเฉียบขาด  และมั่นคง

บทที่ 4
กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
               การบริหาร  หมายถึง  กิจกรรมต่างๆ  ที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็ก  เยาวชน  ประชาชน  ทั้งในด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม  และสติปัญญา
          ปรัชญาบริหารการศึกษาที่นำไปเป็นหลักในการจัดการศึกษาในโรงเรียนมี 2 เรื่อง คือ  การจัดระบบสังคม  และเป้าหมายวัตถุประสงค์ของการศึกษา
          ความคิดรวบยอดในการบริหารการศึกษา  ผู้บริหารจะต้องแสวงหาความรู้อยู่เสมอ  มองปัญหาเป็น  รับฟังความคิดเห็นทุกฝ่ายด้วยเหตุผลและความเป็นธรรม และต้องพัฒนาตนเองให้ทันสมัย        อยู่เสมอ
           กระบวนการบริหารการศึกษา  เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง  เพราะการจัดการธุรกิจการศึกษามีปัจจัยต่างๆ  จำนวนมากที่มาเกี่ยวข้อง  เช่น  ครู  นักเรียน  คนงาน  ภารโรง  และรวมทั้งเงินงบประมาณ เงินบำรุงการศึกษา
            การวางแผน  หมายถึง  การเตรียมการ  หรือคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า  ทำให้ผู้บริหารมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงาน  หรือกระทำอะไรบางอย่างในอนาคต
            ทรัพยากรบริหารการศึกษา  ผู้บริหารจะต้องใช้หลักปัจจัย  4’ Ms ได้แก่  Man , Money , Material และ Management

 บทที่ 5
องค์การและการจัดองค์การ
เราสามารถจำแนกองค์การที่อยู่รอบตัวเราออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
          องค์การทางสังคม องค์การทางราชการ  องค์การเอกชน           
ความหมายขององค์การ  มีดังนี้
           Chester I. Barnard  องค์การคือ การที่คนตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำงาน  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
           Herbert G.  Hicks  องค์การคือ  กระบวนการจัดโครงสร้างให้บุคลคลเกิดปฏิสัมพัทธ์ในการทำงานร่วมกัน
           Daniel Katz Robert Kahn  องค์การคือ  ระบบเปิดที่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
           แนวคิดในการจัดองค์การ  มีพื้นฐานมาจากการดำเนินงานขององค์การที่ภารกิจมาก  ยากที่บุคคลเพียงคนเดียวจะทำเองได้โดยเพียงลำพัง  จะต้องคำนึงถึง “ ผู้ปฏิบัติงาน”  เป็นสำคัญ  และจะต้องกล่าวถึงการบริหารควบคู่กันไป
            ความสำคัญของการจัดองค์การ  องค์การเป็นที่รวมของคนเป็นที่รวมของงานต่างๆ  เพื่อให้พนักงานขององค์การปฏิบัติงานได้อย่างเต็มความสามารถ  จึงจำเป็นต้องการจัดแบ่งหน้าที่ในการทำงาน
            หลักในการจัดองค์การ  ประกอบด้วย หลักวัตถุประสงค์ ความรู้ความสามารถเฉพาะอย่าง  การประสานงาน  การบังคับบัญชา  ความรับผิดชอบ  ความสมดุล  ความต่อเนื่อง  การโต้ตอบ  ขอบเขตของการควบคุม  เอกภาพในการบังคับบัญชา  ตามลำดับขั้นตอน  และการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง
           ประเภทขององค์การรูปนัย  แบ่งเป็น  4 ประเภท  ได้แก่  สมาคมเพื่อประโยชน์ของสมาชิก  องค์การทางธุรกิจ  องค์การเพื่อบริหาร  และองค์การเพื่อสาธารณชน
           ทฤษฎีองค์การ  คือ  ความรู้ที่ได้มาจากทฤษฎีขององค์การอันเนื่องมาจากสังคมวิทยา  รัฐศาสตร์  โดยเน้นความสำคัญของมนุษย์ในองค์การเป็นสำคัญ  และคำนึงถึงประโยชน์ขององค์การทั้งคนที่อยู่ภายในและภายนอกองค์การ
           ระบบราชการ  หมายถึง  ระบบการบิหารงานที่มีลักษณะการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง  มีความอิสระในการทำงาน 

 บทที่ 6
การติดต่อสื่อสาร
                การสื่อสาร  หมายถึง  กระบวนการแลกเปลี่ยนความคิด  ข้อมูลข่าวสาร  หรือติดต่อที่เกี่ยวข้องกับการส่งข่าวสาร  ข้อมูล ความรู้สึกแนวความคิด  และความรู้สึก
           ความสำคัญของของการติดต่อสื่อสาร  เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด  และเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกันโดยอาศัยการพูด  เพราะคำพูดเพียงคำเดียวอาจมีความหมายได้หลายอย่าง  ซึ่งอาจจะนำความเสียหายมาสู่งานได้
          วัตถุประสงค์ของการติดต่อสื่อสาร  เพื่อช่วยสร้างทัศนคติที่จำเป็นสำหรับการกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ  เพื่อให้ข่าวสารข้อเท็จจริงและเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกัน

 บทที่  7
ภาวะภูนำ
          ภาวะผู้นำ  หมายถึง  การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งสามารถโน้มน้าวจิตใจให้ผู้อื่นมีความร่วมมือในการทำงาน  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ  และจะต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา
หน้าที่ของผู้นำ
           1.มีความรับผิดชอบต่อองค์การ
           2.มีความรับผิดชอบต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
           3.มีความรับผิดชอบต่อหน่วยงานอื่น
           4.มีความรับผิดชอบที่มีต่อตนเอง
           ลักษณะประจำตัวของผู้นำ  ประกอบด้วย  มีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะตัว  มีความรู้ความสามารถ  มีความตั้งใจสูง  มีความรับผิดชอบ  มีความเป็นธรรม  มีใจกว้าง  มีฐานะทางสังคม  และมีศิลปะในการนำ

 บทที่ 8
การประสานงาน
                การประสานงาน  หมายถึง  การจัดระเบียบวิธีการทำงาน  และเป็นการร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติเพื่อจัดระเบียบงานให้สอดคล้องกลมกลืนกัน  เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
           ความมุ่งหมายในการประสานงาน  เพื่อช่วยให้ผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้  เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนของการทำงาน  และเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งกัน

บทที่ 9
การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
                การตัดสินใจ  หมายถึง  การชั่งใจไตรตรองหาเหตุผล  และตัดสินใจเลือกทางปฏิบัติที่เห็นว่าดีที่สุด
           การวินิจฉัยสั่งการ  หมายถึง  การสั่งงาน การตกลงใจที่จะพิจารณาตกลงใจที่จะยุติข้อขัดแย้ง  ข้อโต้เถียง  โดยมีการตรวจสอบอย่างรอบคอบ
           องค์ประกอบต่างๆทีนำมาใช่ในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ  ได้แก่  ข่าวสาร การเสี่ยง  นโยบาย  ปัญหาต่างๆ  และเวลา
            ประโยชน์ของการตัดสินใจ คือ สามารถทำให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์  ก่อให้เกิดการประสานงานที่ดี  ช่วยประหยดทรัพยากร  ทำให้การประสานงานเกิดประสิทธิภาพ  เกิดความเรียบร้อย  และทำให้ผู้ร่วมงานได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาตนและพัฒนางาน
บทที่ 10
ภารกิจของผู้บริหารโรงเรียน
                 ผู้บริหารโรงเรียน  จะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้ง  หรือมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษา  หรืออำนวยการต่างๆ เพื่อให้โรงเรียนสามารถจัดการบริหารทางการศึกษาแก่สังคมได้อย่างดี
            ลักษณะและความสำคัญของงานวิชาการ  คือ  งานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น